สุขภาพครอบครัว
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับเรา
  • วางแผนดูแลสุขภาพบุคคลในครอบครัว
  • สุขภาพแม่และเด็ก
  • สุขภาพผู้สูงอายุ
  • ติดต่อ

การวางแผนดูแลสุขภาพตนเองและบุคคลในครอบครัว

มีนาคม 19, 2018 by 50lb22

การวางแผนดูแลสุขภาพตนเองและบุคคลในครอบครัว เป็นเรื่องที่มีคุณค่าอย่างยิ่งเพราะนอกจากจะเป็นสิ่งที่ช่วยกระตุ้นให้ตัวของเราเองและบุคคลในครอบครัวเกิดความกระตือรือร้นในการดูแลสุขภาพแล้ว ยังเป็นสิ่งที่ช่วยให้เกิดสัมพันธภาพอันดีระหว่างสมาชิกทุกคนในครอบครัว เกิดความรักในครอบครัวซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาต่างๆ ได้อย่างดี อันจะนำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีในอนาคต

คุณค่าของการวางแผนดูแลสุขภาพของบุคคลในครอบครัว
คำว่า “สุขภาพดี” ในแต่ละคนนั้นอาจแตกต่างกันออกไปตามแต่สภาวะสังคม หรือรูปแบบของวิถีชีวิตที่แตกต่างกัน แต่โดยรวมแล้วสุขภาพดีอย่างน้อยจะต้องหมายถึง ความสมบูรณ์ของทั้งร่างกายและจิตใจ ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นนี้จะเกิดได้เนื่องจากการดูแลเอาใจใส่ระบบต่างๆ ที่สำคัญของร่างกาย

การที่จะมีสุขภาพดีได้นั้น ไม่ว่าจะเป็นสุขภาพของตนเองหรือของบุคคลในครอบครัว ไม่ใช่เป็นสิ่งเกิดขึ้นได้ด้วยความบังเอิญ หากแต่จำเป็นที่จะต้องมีการวางแผนในการดูแลสุขภาพล่วงหน้าซึ่งจะช่วยให้เกิดผลดี ดังนี้
• สามารถที่จะกำหนดวิธีการหรือเลือกรูปแบบที่เหมาะสมกับการดำเนินชีวิตของตัวเราเองหรือบุคคลในครอบครัวได้อย่างเหมาะสม
• สามารถที่จะกำหนดช่วงเวลาในการดูแลสุขภาพได้อย่างเหมาะสม อาจจะมีกิจกรรมการออกกำลังกายในช่วงเช้า หรือในบางครอบครัวอาจจะมีเวลาว่างในช่วงเย็น ก็อาจจะกำหนดกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพในช่วงเย็นก็ได้ หรืออาจจะกำหนดช่วงเวลาในการตรวจสุขภาพประจำปีของบุคคลในครอบครัวได้อย่างเหมาะสม
• เป็นการเฝ้าระวังสุขภาพทั้งของตนเองและบุคคลในครอบครัว ไม่ให้ป่วยด้วยโรคต่างๆ นับว่าเป็นการสร้างสุขภาพ ซึ่งจะดีกว่าการที่จะต้องมาซ่อมสุขภาพ หรือการรักษาพยาบาลในภายหลัง
• ช่วยในการวางแผนเรื่องของเศรษฐกิจและการเงินในครอบครัว เนื่องจากไม่ต้องใช้จ่ายเงินไปในการรักษาพยาบาล
• ส่งเสริมสุขภาพทั้งของตนเองและบุคคลในครอบครัว
• ทำให้คุณภาพชีวิตทั้งของตนเองและสมาชิกในครอบครัวดีขึ้น

หลักในการวางแผนดูแลสุขภาพของบุคคลในครอบครัว
• การสำรวจรูปแบบการดำเนินชีวิตของสมาชิกในครอบครัวว่าเป็นอย่างไร เนื่องจากการดูแลสุขภาพของบุคคลในครอบครัวนั้น ไม่ใช่เป็นการดำเนินงานโดยบุคคลใดบุคคลหนึ่งเพียงคนเดียวแล้วจะประสบความสำเร็จ หากแต่ต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจของสมาชิกในครอบครัวเป็นสำคัญ
• จากข้อมูลที่ได้ นำมากำหนดเป็นแผนการในการที่จะดูแลสุขภาพของสมาชิกในครอบครัวโดยการกำหนดเป็นแผนในการดูแลสุขภาพซึ่งอาจจะทำแยกเป็นรายบุคคล หรืออาจจะทำเป็นภาพรวมของทุกคนในครอบครัว
• เมื่อกำหนดแผนในการดูแลสุขภาพของสมาชิกในครอบครัวได้แล้ว ก็ดำเนินตามแผนที่วางไว้ และประเมินผลเป็นระยะๆ ว่าบุคคลในครอบครัวสามารถปฏิบัติตามแผนในการดูแลสุขภาพที่วางไว้ได้หรือไม่ อย่างไร
• หากพบว่าไม่สามารถปฏิบัติตามแผนที่วางไว้ได้ ก็นำข้อมูลมาวิเคราะห์ใหม่ ว่าเกิดจากปัจจัยใด และลองปรับเปลี่ยนแผนให้เหมาะสมกับสมาชิกในครอบครัวของเราให้มากที่สุด

 

ขอบคุณที่มาจาก การวางแผนดูแลสุขภาพของบุคคลในครอบครัว อ.นิวัฒน์ บุญสม โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์

 

Posted in: วางแผนดูแลสุขภาพบุคคลในครอบครัว Tagged: ครอบครัว, ดูแล, ผู้สูงวัย, วิธีสอนให้เด็กทานผัก แบบง่ายๆ, สุขภาพ, สูงอายุ, เด็ก

สุขภาพแม่ และ เด็ก

  • ครอบครัว
    กุมภาพันธ์ 12, 2019
  • อาหารกับสุขภาพครอบครัว
    กุมภาพันธ์ 4, 2019
  • ไม่ใช่แค่ พ่อ แม่ ลูก ถึงจะเป็น ‘ครอบครัว’ ได้ จะรักรูปแบบไหนก็เป็น ‘ครอบครัว’
    ธันวาคม 22, 2018
  • การดูแลสุขภาพตนเองและครอบครัว
    ตุลาคม 28, 2018
  • การออกกำลังกายช่วงตั้งครรภ์
    เมษายน 12, 2018

สุขภาพผู้สูงอายุ

  • ครอบครัว
    กุมภาพันธ์ 12, 2019
  • ไม่ใช่แค่ พ่อ แม่ ลูก ถึงจะเป็น ‘ครอบครัว’ ได้ จะรักรูปแบบไหนก็เป็น ‘ครอบครัว’
    ธันวาคม 22, 2018
  • การดูแลสุขภาพตนเองและครอบครัว
    ตุลาคม 28, 2018
  • ยิ่งหิวยิ่งสุขภาพดี กินวันละมื้อจะอายุยืน จริงหรือ?
    เมษายน 7, 2018
  • ‘ฟิตเนสกลางแจ้งเพื่อคนชรา’ เทรนด์รับสังคมคนสูงอายุ
    มีนาคม 30, 2018
  • สมองฝ่อในผู้สูงวัย : สาเหตุ อาการ แนวทางการรักษา
    มีนาคม 26, 2018
  • การดูแลสุขภาพตนเองและครอบครัว
    มีนาคม 14, 2018
  • โรคไข้กาฬหลังแอ่นโรคไข้กาฬหลังแอ่น
    มกราคม 29, 2018
  • หกล้มปัญหาหกล้มในผู้สูงอายุที่ต้องระวังให้ดี!!
    มกราคม 23, 2018
  • darkriz5 โรคฮิตกับผู้สูงอายุ
    มกราคม 22, 2018

ผู้สนับสนุน

  • gclub
  • บาคาร่า

Copyright © 2019 | สุขภาพครอบครัว by familyhealingcntr.com